แนะนำ ประวัติ ผลงาน และทัศนะ

 

   

 

ประชาธิปไตยเมืองไทยแบบพรรคเดียวกำลังละม้าย

สถานการณ์อดีตเผด็จการประชาธิปไตยของอินโดนีเซีย  

“เศรษฐาณานิคม”: วิวัฒนาการการล่าอาณานิคมจาก“อิสต์อินเดีย” ของอังกฤษในยุคเดิม มาเป็น“เทมาเสก”ของสิงคโปร์ในยุคโลกาภิวัฒน์    

  ดร.ทักษิณเก่งจริง หรือมีอะไรเป็นปัจจัยเกื้อหนุน--บุญวาสนา ความสามารถ โอกาส หรือการผู้ขาด?   

สาระสำคัญที่มิได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ: สาระที่อาจต้องใช้อำนาจตามมาตรา 7 เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งของบ้านเมือง    

ผู้ว่าซีอีโอ-ความสับสนในการบริหารราชการแผ่นดิน ระหว่างการบริหารราชการกับการบริหารราชกิจ  

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คุณลักษณะ ๑๐ ประการสำหรับผู้นำประเทศ

โดย ศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์

ผู้นำประเทศเป็นผู้ที่ได้รับโอกาสในการขึ้นมาบริหารประเทศ จึงควรมีคุณลักษณะสำคัญหลายประการที่ต้องมีมากกว่าประชาชนทั่วไป กล่าวคือ เป็นผู้มีปรัชญา มีวิสัยทัศน์ เทิดทูนระบบไทย มีความรู้ มีความสามารถในการบริหารและการจัดการ มีวุฒิภาวะผู้นำ เสียสละ มีใจกว้าง และความมีคุณธรรมจริยธรรม หากขาดคุณลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ความเป็นผู้นำก็ด้อยลงไป และมีผลต่อความเชื่อถือของประชาชน ขาดความสง่างามที่จะบริหารประเทศ

ก่อนอื่น ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองทุกตำแหน่งต้องเข้าใจเสียก่อนว่า ไม่มีใครเกณฑ์หรือเชื้อเชิญท่านเข้ามาทำงานโดยที่ท่านไม่ได้สมัครใจ ทุกคนก็ล้วนอาสาเข้ามาทำงานบริหารราชการแผ่นดินเป็นข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงไม่มีสิทธิ์หรือไม่ควรที่จะแสดงอารมณ์ ก้าวร้าว เหยียดหยามดูหมิ่น ดูแคลนผู้ที่มีทัศนะแตกต่างจากตนเอง หรือไม่ควรพร่ำบ่น ว่า ตนเหน็ดเหนื่อย ไม่ได้พักผ่อนหรือไม่มีโอกาสส่วนตัว เป็นตัวของตัวเอง

ประการแรก ผู้นำประเทศพึงถือปรัชญาการบริหารบ้านเมืองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ที่มุ่งเทิดทูน ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ และปฏิบัติหน้าที่เต็มความรู้ความสามารถที่จะยังความเจริญรุ่งเรืองให้ประเทศชาติ มิใช่เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของตนเอง ครอบครัวและญาติมิตร

ประการที่สอง ผู้นำประเทศพึงมีวิสัยทัศน์เศรษฐกิจพอเพียง ที่จะมองภาพอนาคตอย่างชัดเจนในการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าอย่างสมดุลทั้งทางวัตถุและจิตใจ ในขณะที่สังคมเมืองมีตึกอาคารใหญ่โต มีตึกระฟ้าและแสงสีแห่งวัฒนธรรมตะวันตก ก็ไม่ควรให้สังคมบ้านต้องกลายเป็นอย่างเมืองฝรั่ง สังคมบ้านก็ควรรักษาความเป็นไทยทีสอด คล้องกับประเพณีไทย เป็นวิสัยทัศน์ที่ไม่ทำให้ประชาชนมีความเร่าร้อนใจ เพราะต้องแข่งขันการสร้างความมั่งมี แต่ควรมุ่งให้ประชาชน อยู่เย็นเป็นสุข มีความเป็นอยู่อย่างพอเพียง ก็ลองเทียบดู รถยนต์ที่วิ่งด้วยความเร็วสูงต้องสิ้นเปลืองพลังงานมากฉันใด การพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญเติบโตเร็วเกินไปก็เผาผลาญทรัพยากรของชาติอย่างสิ้นเปลือง หมดหายไปอย่างรวดเร็วฉันนั้น แล้วจะเหลืออะไรให้ชนรุ่นหลัง จะไม่เป็นการเบียดบังลูกหลานเกินไปหรือ?

ประการที่สาม ผู้นำประเทศ พึงเห็นคุณค่าและเทิดทูนระบบไทย วิถีไทย และภูมิปัญญาไทย บรรพบุรุษสร้างบ้านแปงเมือง ต่อสู้ หลั่งเลือดเพื่อแผ่นดินไทยมาหลายพันปี ดินแดนไทยเป็นอู่อารยธรรมของโลกและแผ่ซ่านไปทุกสาระทิศ แต่พวกเรากลับดูหมิ่นดูแคลน ระบบไทย วิถีไทย และภูมิปัญญาไทย ผู้นำประเทศต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการเคารพเทิดทูนระบบไทย มิใช่นำเอาระบบ วิถีชีวิต และภูมิปัญญาต่างชาติเข้ามาครอบงำ ที่ร้ายแรงมากก็คือ เชื่อฝรั่งมากจนยอมให้สิ่งที่เป็นของไทย ไปเป็นของอินเดีย เช่น ศาสนาพราหมณ์ พระพุทธศาสนา รามเกียรติ ภาษาบาลี ฯลฯ ก็ยกให้เป็นของอินเดียจนหมดสิ้น

ประการที่สี่ ผู้นำประเทศพึงมีความรู้รอบในศาสตร์และวิทยาการต่างๆ อย่างสมดุลทั้งองค์ความไทยและองค์ความรู้สากล มิใช้พึ่งพาองค์ความรู้จากต่างประเทศ ผู้นำบางคน “กางตำราฝรั่ง” บริหารบ้านเมือง ใช้บ้านเมืองเป็นสถานฝึกงานวิชาบริหารธุรกิจ โดยไม่คำนึงถึงความจริงที่ว่า ศาสตร์ว่าด้วยการบริหารของไทยก็นำพาประเทศชาติให้รอดพ้นปากเหยี่ยวปากกาของบรรดา “แร้ง” ที่แสวงหาอาณานิคมมาแล้ว แต่ตนเองก็พยายามชวนชวน “แร้ง” เหล่านั้นมาทึ้งเลือดเนื้อของชาวไทยกันเอง

ประการที่ห้า ผู้นำประเทศต้องมีความสามารถในการบริหารและการจัดการ ต้องแยกให้ออกระหว่างแนวคิดการจัดการ และแนวคิดการบริหาร การบริหารเป็นเรื่องการกำหนดนโยบาย การกำกับควบคุม ส่วนการจัดการเป็นเรื่องการปฏิบัติตามนโยบายนั้น ต้องทำความกระจ่างเกี่ยวกับแนวคิดในการบริการราชการแผ่นดิน ที่มีทั้งการบริหารราชการ ตามนโยบายของรัฐบาล และการบริหารราชกิจ คือ ปฏิบัติหน้าที่ “ต่างพระเนตรพระกรรณ” ได้แก่ ราชทูต และผู้ว่าราชการ มิใช่นำสองแนวคิดมาผสม ปะปนกัน และอ้างว่า เป็นการบริหารแบบธุรกิจ โดยการใช้ แนวคิดซีอีโอ จนสับสนวุ่นวายอย่างที่เป็นอยู่ในขณะนี้

          ความจริงประการหนึ่งที่ต้องรับทราบไว้ คือ สมัยนี้ หมดยุคที่จะมีผู้นำเดี่ยวอีกแล้ว ผู้นำในปัจจุบันและอนาคต จึงต้อง เป็นคณะผู้นำที่มีหลายหัวช่วยเหลือและแสดงความคิดเห็น มิใช่คนเดียวพูดกลายเป็นมติและกลายเป็นกฎหมาย คนอื่นก็ “หงอ” เออ ออตามไม่กล้าโต้แย้ง เพราะเกรงจะอดจะขาดโภคทรัพย์ที่ผู้นำคนนั้นเจียดให้ หากเป็นเช่นนี้ ก็จะทำให้บ้านเมืองเดือดร้อนไม่มีที่สิ้นสุด ผู้นำเดี่ยวมักจะพบเห็นในยุคเผด็จการเท่านั้น

ประการที่หก ผู้นำประเทศต้องมีวุฒิภาวะ ทั้งวุฒิภาวะความเป็นมนุษย์ และวุฒิภาวะทางการเมือง วุฒิภาวะความเป็นมนุษย์หรือผู้มีใจสูง คือ การใช้สามัญสำนึกรู้ผิดถูก รู้ชั่วดี ต้องระวังสำรวมจะคิด จะพูด จะทำอะไร ก็ให้ถูกกาละเทศ ไม่นำสิ่งที่พูดในครอบครัวมาพูดให้ภายนอกได้ฟังเพียงเพื่อจะแสดงว่า ตนเป็นคนของครอบครัว ส่วนวุฒิภาวะทางการเมือง คือ ความรู้เท่าทันว่า เราอาสามารับใช้ชาติบ้านเมือง ไม่ได้มาเป็นเจ้านาย หรือมาเป็นเจ้าของประเทศ เมื่อมีการต่อต้านก็ต้องไม่ยึดมั่นถือมั่น รับฟัง ไม่หวงแหนเก้าอี้หรือตำแหน่ง ไม่แสดงอารมณ์ โกรธกริ้ว มีโทสะเมื่อมีผู้แสดงความคิดเห็นต่าง

ประการที่เจ็ด ผู้นำประเทศเสียสละ เห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน ผู้นำมักจะรอให้บริวารอิ่มก่อนที่ตนเองจะบริโภค จะรู้สึกอายที่จะรับ แต่รู้สึกองอาจเมื่อเป็นผู้ให้ และมักจะให้โดยไม่หวังผลตอบแทน การเสียสละที่ยิ่งใหญ่ คือ การเสียสละความสุขส่วนตนและครอบครัวเพื่อความสุขของส่วนรวมและประเทศชาติ ผู้นำประเทศจะเสียสละได้ก็เมื่อขจัดกิเลสคือ ความโลภให้เหลือน้อยที่สุด

ประการที่แปด ผู้นำประเทศต้องเป็นคนใจกว้าง รับฟังความคิดเห็นของเพื่อนร่วมชาติ โดยไม่คิดว่า คนเหล่านั้นจะมา “ขัดลาภ” “เลื่อยเก้าอี้” หรือหาเรื่อง กลั่นแกล้ง อิจฉาริษยาตนเอง รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. ๒๕๔๐ เน้นการเมืองภาคประชาชน คือ ต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วม จึงต้องรับฟังความคิดเห็นของประชาชน โดยเฉพาะอย่าง ผู้นำควรฟังทัศนะ คำวิพากย์ วิจารณ์ของ ผู้รู้ นักวิชาการ และนักปราชญ์ ซึ่งเป็นผู้มีความรู้และประสบการณ์ มิใช่มัวตอบโต้ ดูหมิ่นดูแคลนนักวิชาการ ไม่ดูหมิ่นดูแคลนข้าราชการ คิดว่า สติปัญญาด้อยกว่านักธุรกิจ ปัจจุบันอาจจะเป็นความจริงที่คนมีสติปัญญาที่สำเร็จการศึกษาใหม่ๆ อาจไม่อยากรับราชการ แต่อดีตไม่ใช่ เพราะในอดีตนั้นคนมีปริญญามีสติปัญญามีจะเลือกเข้ารับราชการมากกว่า เข้าสู่วงการธุรกิจ ดังนั้น ผู้นำจะต้องไม่คิดว่า นักวิขาการที่เป็นข้าราชการก็ดี เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยก็ดี สติปัญญาด้อยกว่าตน

ประการที่เก้า  ผู้นำประเทศต้องสามารถควบคุมอารมณ์ จริงใจ และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ไม่หลงตน ว่า เป็นผู้เสียสละ ทำประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติ จึงเห็นคนอื่นต่ำกว่าตนเอง เมื่อมีคนวิพากษ์วิจารณ์ก็ควบคุม อารมณ์ไม่ได้ ในการบริหารองค์กร สิ่งที่ถือว่า เป็นลักษณะเลวร้ายที่สุดของหัวหน้าหน่วยงาน คือ การแสดงอาการโกรธให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาเห็น โดยแสดงอาการโกรธเกรี้ยว พูดจากกระโชก ตระหวาด ฯลฯ เพราะเป็นพฤติกรรมที่ขัดกฎหมายรัฐธรรมนูญในมาตราที่ว่า ด้วยศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์

          ประการที่สิบ ผู้นำประเทศต้องเป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม คุณธรรม คือ สภาวะแห่งความดี จริยธรรม คือ บรรทัดฐานของการประพฤติปฎิบัติตามคุณธรรม คือ ซื่อสัตย์ สุจริต คิด พูด และกระทำในที่แจ้ง ไม่หลบหลีก ซอกแซก เร้นรับ ต้องมีพรหมวิหาร 4 คือปรารถนาให้ประชาชนมีความสุข ต้องการให้เขาพ้นทุกข์ ชื่นชมยินดีเมื่อประชาชนได้ดีมีความสำเร็จ และเป็นกลาง ไม่คิดว่า ประชาชนเป็นฝ่ายตรงกันข้าม แม้แต่ฝ่ายค้าน ต้องแยกบทบาทให้เด็ดขาดระหว่างความเป็นนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี ซึ่งต้องเป็นกลางอย่างมั่นคง กับ บทบาทการเป็นหัวหน้าพรรคหรือผู้บริหารพรรค ซึ่งมีฝ่ายค้านฝ่ายไม่เห็นด้วย  ผู้นำต้องมีเทวธรรม คือ ละอายต่อบาปและเกรงกลัวบาป คือ เชื่อว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ควรเชื่อว่า นรกสวรรค์มีจริง และควร “เชื่อตอนเป็น ดีกว่าเห็นตอนตาย” ผู้นำประเทศต้องเคารพรัฐธรรมนูญ ไม่หาทางหรือช่องโหว่ที่จะตีความกฎหมายเพื่อเข้าข้างตนเอง หากพิจารณาตามความเป็นจริง แล้ว รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ ไม่มีอะไรที่ต้องปรับปรุงแก้ไข หากผู้นำประเทศมีคุณธรรมจริยธรรม ไม่ เข้าไปก้าวก่ายครอบงำองค์กรอิสระหรือกระบวนการที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญเพื่อประโยชน์ตัว

คุณลักษณะ ๑๐ ประการนี้ ใช้ได้ทุกองค์กร ทุกประเทศ ไม่เฉพาะประเทศไทย

ส่วนเมือง เมืองไทยละ  ชาตินี้หรือชาติหน้าจะได้ผู้นำอย่างนี้หรือไม่.     

ปทุมวัน

๓ มีนาคม ๒๕๔๙ ๑๒.๕๐ น. 

 

ดร. ชัยยงค์ พรหมวงศ์

ศาสตราจารย์ ระดัีบ ๑๑

(ศาสตราจารย์ ระดับ ๑๑ ทางการศึกษา คนที่ ๒ ของประเทศไทย)

หนึ่งในผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และเป็นผู้พัฒนาระบบการสอนทางไกล "แผนมสธ." (อ่านรายละเอียด)

อุปนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

 อนุกรรมาธิการอุดมศึกษา วุฒิสภา และที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ คณะกรรมาธิการการศึกษา ศาสนา และวัฒรธรรม วุฒิสภา

อดีต:

รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ และรองอธํิการบดีฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ผู้อำนวยการสำนักฝึกอบรม เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สถาบันพระปกเกล้า

ผู้อำนวยการสำนักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

UNESCO/UNDP Expert (Indonesia, Sri Lanka, Maldives, Laos, Malaysia, Japan, India, Pakistan)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

k

 
FastCounter by bCentral
Created:  February, 2006

E-mail: chaiyong@irmico.com

Do you agree with the content and opinion expressed in this article?

ท่านเห็นด้วยกับทัศนะในบทความนี้มากน้อยเพียงใด?
เห็นด้วยมาก/Highly Convinced /Convinced ไม่แน่ใจ/Uncertainไม่เห็นด้วย/Not convinced


 
ผลการแสดงความคิดเห็น/Result

โปรดติดตามที่นี่!!!

เสนอทัศนะทางเศรษฐกิจและการเมือง การศึกษา ธรรมะกับชีวิต ศิลปะวัฒนธรรม ประวัติและผลงาน การวิจัย พระพุทธอุบัติภูมิ งานสร้างสรรค์ทำให้มสธ. ฯลฯ ทุกสัปดาห์ 

Do you agree with the content and opinion expressed in this article?

ท่านเห็นด้วยกับทัศนะในบทความนี้มากน้อยเพียงใด?
เห็นด้วยมาก/Highly Convinced /Convinced ไม่แน่ใจ/Uncertainไม่เห็นด้วย/Not convinced


 
ผลการแสดงความคิดเห็น/Result
kkkkkkk