แนะนำ ประวัติ ผลงาน และทัศนะ

         

  [Home: กลับหน้าแรก] [การศึกษา][ธรรมะกับชีวิต][เศรษฐกิจและการเมือง][พระพุทธอุบัติภูมิ] [50 ผลงานสร้างสรรค์ให้ มสธ.] [ประวัติและผลงาน]

ใบประกาศเกียรติคุณผลงานศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน Who's Who in the World (Twenty Seventh Edition 2010) โดยความเห็นชอบของ  Marquist Who's Who Publication Board สหรัฐอเมริกา ในฐานะผู้ที่สร้างผลงานทางวิชาการ และวิชาชีพดีเด่น และได้บำเพ็ญตนเป็นประโยชน์ ต่อความเจริญของสังคม

Webstats4U - Free web site statistics
Personal homepage website counter

ประวัติและผลงาน

ฉบับย่อ       ฉบับละเอียด

กบถแดง ผู้ก่อการร้าย สื่อและนักวิชาการซาละเปาใส้ถ้่วแดง ตำรวจมะเขือเทศกับทหารแตงโม: โรคร้ายและปัจจัยวิบัติแห่งแผ่นดินที่ต้องขจั้ดผ่าตัดอย่างรีบด้วย

ชาวบางระจันยุคไซเบอร์-ทางออกของแผ่นดิน ที่จะเอาชนะกบถแดงที่มุ่งล้มล้างระบอบประชาธิปไตย ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข  

สดุดีดวงวิญญาณวีรบุรุษทหารหาญ ผู้เสียชีวิตจากการต่อสู้กับพวกก่อการร้าย และพวกกบถต่อรัฐ เพื่อปกป้องชาติ ศาสน์ กษัตริย์และแผ่นดินไทย  #15

ยุบสภา-ยุบทำไมยุบเพื่อใคร? #14

หลั่งเลือดทาแผ่นดินและสาบแช่งผู้อื่น ไม่กลัวคำสาปจะย้อนกลับมาทำร้ายตัวเองหรือ? #13

มีนาคม 2553--"มีนามหาวิปโยค" หรือ "มีนาสร่างโศก" แห่งแผ่นดิน #13A

ปีเสือ 2553 ขอให้เป็นปีวิบัติแห่งคนชั่วที่โกงชาติโกงแผ่นดิน  (โปรดคลิ้ก)#12

 เจ้ามูลแม้ว-พม่าหรือเขมรกลับชาติมาเกิด? (โปรกดคลิ้ก)

ช่วยคนชั่วกลับครองอำนาจหรือเดินสายขายชาติ?

ช่วงเข้าพรรษาตรงกับประเทศไทย หรืออินเดีย?-ปฎิทินจันทรคติที่ใช้ในพระพุทธศาสนา เป็นของชาติใด?

หนึ่งร่องรอยที่แสดงว่าพระพุทธศาสนามิได้เกิด

ในอินเดียหรือเนปาลแต่เกิดในประเทศไทย (ศุภกฤษฎิ์ มหารักขกะ)

สังคมการเมืองไทย:สังคมวิกฤตคุณธรรม

สังคมเมืองสารขัณฑ์สับสนอับจนคุณธรรม:ผู้นำ ผู้ตามไร้วุฒิภาวะและสามัญสำนึกหรือไม่?

คุณธรรมจริยธรรมนักการเมือง: เงื่อนไขความสำเร็จในการบริหารบ้านเมือง   

มติหวยบนดิน:ตราบุญหรือตราบาปของรัฐสภา?  

วปอ.กับงานป้องกันราชอาณาจักร: บัณฑิตได้ทำหน้าที่ปกป้องราชอาณาจักร์แล้ว หรือยัง?

บทความเก่า 2549-51

ประชาธิปไตยเมืองไทยแบบพรรคเดียว กำลังละม้ายสถานการณ์อดีตเผด็จการประชาธิปไตย ของอินโดนีเซีย 

“เศรษฐาณานิคม”: วิวัฒนาการการล่าอาณานิคมจาก“อิสต์อินเดีย” ของอังกฤษในยุคเดิม มาเป็น“เทมาเสก”ของสิงคโปร์ในยุคโลกาภิวัฒน์  

  ดร.ทักษิณเก่งจริงหรือมีอะไรเป็นปัจจัยเกื้อหนุน- -บุญวาสนา ความสามารถ โอกาส หรือการผู้ขาด?   

สาระสำคัญที่มิได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ: สาระที่อาจต้องใช้อำนาจตามมาตรา 7เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งของบ้านเมือง    

คุณลักษณะ ๑๐ ประการสำหรับผู้นำประเทศ   

ผู้ว่าซีอีโอ-ความสับสนในการบริหาร ราชการแผ่นดิน ระหว่างการบริหารราชการกับการบริหารราชกิจ  

วิกฤตค่านิยม--สามเหรียญ สามค่า สาเหตุแห่งความขัดแย้งความเก่งกับความดี ความร่ำรวยกับความพอเพียง และความรักปกป้องตนเองกับพวกพ้อง กับความรักปกป้องชาติ   

 โปรดแสดงความคิดเห็น

   

บทความใหม่

"คุณธรรมนำการปรองดอง-เพียงยึดหลักนิติรัฐ ความปรองดองจะเกิดขึ้นในบ้านเมือง"

โดย ศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์

www.chaiyongvision.com

นโยบายหลักของรัฐบาลในการนำประเทศไทยให้พ้นจากหุบเหวแห่งหายนะของสังคม คือ การยกเครื่องปฎิรูปประเทศ และการเดินหน้าบนเส้นทางการปรองดอง นโยบายทั้งสองได้รับการขานรับทางบวก แต่ก็ให้สัญญาณทางลบว่า การปฎิรูปการเมืองจะนำไปสู่การปรองดองกับฝ่ายทำผิดกฎหมาย ที่จริงแล้ว สิ่งที่จะนำไปสู่การปรองดองอย่างแท้จริง คือ คุณธรรม ท่านนายกฯ จะเรียกร้องให้เกิดความปรองดองกันไม่ได้ หากพยายามปรองดองความดีกับความชั่ว กล่าวคือให้คนดีกับคนชั่วจับมือหรือ "เกี้ยเซี้ย"กัน มองข้ามความเลวร้ายที่พวกคนชั่วได้กระทำไปแล้ว เพราะการปรองดองเช่นนั้นจะนำไปสู่ความวุ่นวายในแผ่นดินอย่างไม่มีวันสิ้นสุด ดังนั้นการปรองดองจึงต้องยึดหลักนิติรัฐและเป็นมาตรการที่รัฐบาล พึงดำเนินการอย่างเร่งด่วน หากทำได้สำเร็จความปรองดองจะเกิดขึ้นอย่างถาวร นั่นคือต้องให้คุณธรรมนำการปรองดอง

        สิ่งที่นายกรัฐมนตรีพึงกระทำ เพื่อเป็นมาตรการเร่งรัดให้มีการใช้หลักนิติรัฐ ในการบริหารประเทศชาติในภาวะวิกฤตมี 4 ประการ

        ประการแรก นายกรัฐมนตรีต้องยึดประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยขน์ส่วนตนและ ส่วนกลุ่ม--ภาพที่เกิดขึ้นกลายเป็นลักษณะติดลบของท่านนายกฯ คือ ท่านไม่กล้าประกาศจุดยืน หรือเมื่อประกาศไปแล้ว ท่านก็ไม่กล้าบังคับใช้มาตรการที่จะให้การบริการราชการแผ่นดินเป็นไปตามจุดยืนนั้น เช่น ประกาศว่า ไม่เห็นด้วยกับการที่การบินไทยจะทิ้งสนามบินดอนเมืองไปใช้ที่สนามบินสุวรรณภูมิ ประกาศเด่นชัดให้การบินไทยทบทวน แต่เมื่อการบินไทยยังดื้อรั้น เพราะถูกพรรคร่วมรัฐบาลที่กำกับดูแลกระทรวงคมนาคม ครอบงำ ท่านก็ไม่ได้ใช้อำนาจเด็ดขาดให้หน่วยงานเหล่านั้นปฏิบัติตามนโยบาย นอกจากนี้ยังมีเรื่องอื่นๆ เช่น การเช่ารถ NGV การซื้อขายผลผลิตทางการเกษตร ฯลฯ ท่านก็ไม่กล้าสั่งการใช้อำนาจยับยั้ง ทั้งๆ ที่เห็นความไม่ชอบมาพากลอยู่อย่างเด่นชัด เพราะเกรงจะขัดเคืองใจพรรคร่วมรัฐบาลที่อาจทำให้รัฐบาลต้องสลาย เรียกว่า ท่านถูกครอบงำด้วยความกลัวจะไม่ได้รับการสนับสนุนจากนักการเมืองที่เป็นพรรคร่วมรัฐบาล

        ประการที่สอง ท่านต้องประกาศตนให้ชัดเจนที่จะสนับสนุนข้าราชการฝ่ายตุลาการ ให้ทำหน้าที่อย่างเข็มแข็ง เด็ดขาด --โดยเฉพาะอย่างยิ่งตำรวจซึ่งอยู่ในสายงานบังคับบัญชา ของท่านนายกฯ ท่านควรจะดูแลงานของกตร. ด้วยตนเองทุกระดับ มิใช่ปล่อยให้รองนายกฯ คนใดคนหนึ่งทำหน้าที่แทน จนทำให้เกิดการใช้อำนาจไร้ประสิทธิภาพ นายตำรวจบางคนถูกปปช. ตัดสินว่า ต้องออกจากราชการ กตร.ก็ยังฝืนมติให้กลับเข้ารับราชการได้ใหม่ สร้างความสับสนในมาตรการการรักษากฎหมาย ซึ่งเป็นหัวใจของหลักนิติรัฐ ผู้รักษากฎหมายกับทำผิดกฎหมายเสียเอง ปปช. ตัดสินว่า ผิด ก็ยังตะแบงกลอกกลับว่า ไม่ผิด ฝ่ายตำรวจขณะนี้ DSI โดยอธิบดีกรมสอบสวนพิเศษธาริต เพ็งดิษฐ์ ได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างดีมาก ท่านควรภูมิใจที่มีคนดีคนกล้าช่วยงานนิติรัฐให้เป็นผล ท่านก็ควรต้องหาผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติให้เป็นคนดี คนกล้า ถึงลูกถึงคนอย่างคุณธาริต เพ็งดิษฐ์ มิฉะนั้นจะทำให้ตำรวจมะเขือเทศแพร่พันธุ์หันกลับมาพันแข้งพันขาทำให้ท่านเสียศูนย์ได้ หากไม่ระวังตัว

        ประการที่สาม ต้องเร่งรัดให้การดำเนินคดีทั้งหลายดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว อย่าปล่อยให้เกิดสองมาตรฐาน--คดีฉกรรจ์มีหลายคดี หลายคดีฮือฮาไปพักหนึ่ง พอไปโดน "ตอ" ก็เลยหยุดชะงัก เช่น กรณีลอบยิงคุณสนธิฯ ท่านนายกฯ ควรต้องสั่งขุดและลากตอเหล่านั้นขึ้นมาลงโทษให้ได้ คดีหมิ่นพระมหากษัตริย์ เช่น คดีจักรภพ เพ็ญแข แปลคำหมิ่นเป็นภาษาไทยเกือบสามปีมาแล้วก็ยังไม่มีอะไรเกิดขึ้น ท้ายสุดก็เกิดสองมาตรฐาน คนที่ถูกข้อหาว่าก่อการร้ายกลุ่มหนึ่งได้รับอนุญาตให้ประกันตัว อีกกลุ่มหนึ่งไม่ได้รับอนุญาต ฯลฯ เหล่านี้ล้วน เป็นปัญหาเกี่ยวกับการใช้หลักนิติรัฐทั้งสิ้น

        ประการที่สี่ ท่านต้องกล้าที่จะตั้งตนอยู่กับฝายธรรมะคือฝ่ายดี ทั้งในใจและการปฏิบัติ ไม่ลังเลหรือปล่อยให้กรรมลงโทษคนทำชั่ว ท่านต้องนำคนชั่วมาลงโทษหากทำผิดกฎหมาย อย่ารีรอซื้อเวลาเพราะเหตุผลกลัวเสียคะแนนเสียง--เท่าที่ผ่านมาดูว่า ท่านนายกฯ ไม่กล้าและแยกไม่ออกว่า ใครดีไม่ดี ในใจท่านอาจจะแยกออก แต่หากท่านไม่แสดงตน เพราะไม่กล้า หรือ กล้าๆ กลัวๆ ก็จะเป็นการส่งสัญญาณว่าท่าน จะ "หยวน" กับฝ่ายอธรรมะ เช่น พยายามปรองดองกับแกนนำที่พาคนมาป่วนบ้านเผาเมือง จนต้องล้มเหลวเพราะแกนนำเสื้อแกงสามคนไม่ใช่ผู้มีอำนาจที่จะตัดสินใจ ประชาชนก็มองว่าท่านหรือนักการเมืองในค่ายของท่านหาทางช่วยเหลือคนทำร้ายแผ่นดินเหล่านั้นให้กำเริบ ออกมาเผาบ้านป่วนเมืองอีก ท่านจึงต้องประกาศจุดยืนของคนเองอย่างเด่นชัด หาไม่แล้ว เมษายนหน้า อาจจะเกิดความวุ่นวายหนักกว่าปีนี้ ยิ่งหากปล่อยให้มีการนิรโทษกรรม "งูพิษ" อย่างที่ร่ำลือกัน แม้ท่านจะได้ประกาศแล้วว่า ไม่เห็นด้วยกับนิรโทษกรรม แต่ก็ไม่ได้ประกันว่า มันจะไม่เกิดขึ้น คือการปล่อยให้งูพิษออกมายั้วเยี้ยแพร่พันธุ์ โดยไม่มีมาตรการควบคุม หากท่านไม่กล้า และไม่หนักแน่นในฝ่ายดี ใจท่านก็อาจอ่อนไหวไร้ความเด็ดขาด จนทำให้ผลการประเมินการผู้นำของท่านตกต่ำอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน จึงขอให้ท่านนายกฯ ยึดมั่นในฝ่ายดี ไม่ใช่แค่ในใจ แต่ต้องประกาศจุดยืนและกระทำให้เห็นผล จากเหตุการณ์ในบ้านเมืองที่ผ่านมา ประชาชนได้บทเรียนใหม่แล้วว่า "ผู้นำต้องไม่ใช่แค่เป็นคนเก่งและคนดีอย่างเดียว ต้องเป็นคนกล้าด้วย" ท่านนายกฯ เป็นคนเก่งและดีแน่นอน แต่ท่านเป็นคนกล้าแล้วหรือยัง? 

คุณธรรมนำการปรองดองจึงเป็นมาตรการที่จะประกันว่าจะเกิดการปรองดองจริงๆ ทำไมท่านไม่พยายามสร้างความปรองดองกับคนที่รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ท่านจะไปปรองดองทำไมกับคนที่พยายามล้มชาติ ล้มเจ้า เพื่อประโยชน์อันใด เพราะท่านย่อมตระหนักแล้วว่า การปรองดองเช่นนั้น จะนำไปสู่ความล่มสลายของสังคมไทยที่เป็นแผ่นดินทองแผ่นดินธรรมในอนาคต.

 28 มิถุนายน 2553 เวลา 04.50 น.

โปรดแสดงความคิดเห็น

 www.chaiyongvision.com email: chaiyongusc@gmail.com

 

เว้ปไซต์นี้ เสนอทัศนะทางเศรษฐกิจและการเมือง การศึกษา ธรรมะกับชีวิต ศิลปะวัฒนธรรม ประวัติและผลงาน การวิจัย พระพุทธอุบัติภูมิ งานสร้างสรรค์ทำให้มสธ. ฯลฯ ทุกสัปดาห์    ทัศนะที่นำเสนอในเว้ปไซต์นี้ เป็นของ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ไม่จำเป็นต้องสะท้อนองค์กรที่เคยสังกัดหรือกำลังสังกัดในปัจจุบัน

พุทธอุบัติภูมิ Buddha's Birthplace  

    

  

นายชัยยงค์ พรหมวงศ์ เข้ารับพระราชทานปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฺฑิต กรกฎาคม ๒๕๐๙

 พระบารมีปกเกล้า--ศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ส่งเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หลังจากเสด็จพระราชทานปริญญาแก่บัณฑิต รุ่นแรกของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร ประจำปีการศึกษา  ๒๕๒๔-๒๕

 

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ทรงพระกรุณาพระราชทานพระราชวโรกาส ให้พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายา ถ่ายภาพร่วมกับนายกสภามหาวิทยาลัย (ศ.ดร.เกษม สุวรรณกุล) อธิการบดี (รศ.ดร.ทองอินทร์ วงศ์โสธร) และรองอธิการบดี (ศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ซ้ายสุด) เนื่องในวันรับพระราชทานปริญญาบัตร ณ หอประชุมใหม่ สวนอัมพร มกราคม ๒๕๔๕

 

 

ศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์ อุปนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิต ด้านยุทธศาสตร์การพัฒนา แด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีฯ

  

 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์ อุปนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด (ขวามือ) นำ อธิการบดี (ผ.ศ.เฉลย ภูมิพันธ์) กรรมการสภามหาวิทยาลัย และคณาจารย์  เข้าเฝ้าเพื่อทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิติมศักดิ์ ณ พระที่นั่งดุสิตาลัย เมื่อวันจันทร์ที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๔๙

 

คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เข้าเฝ้าเพื่อทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิต แต่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ณ สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา (๒๕๔๔)

สมเด็จพระพี่นางฯ ทรงอนุญาตให้รองศาสตราจารย์ ดร.นรนิติ เศรษฐบุตร เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า (แถวหน้า คนที่ 2 จากซ้าย) นำผู้บริหาร อดีตผู้บริหาร (ศ.ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์ แถวหน้าขวาสุด) และเจ้าหน้าที่เข้าเฝ้าฯ ณ วังเลอดีส

คติประจำใจ

"ปราศจากความพยายามที่ทุรนทุราย จะหาความเป็นเลิศ มิได้เลย"

ดร. ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ศาสตราจารย์ ระดับ ๑๑ ในชุดครุยผู้บริหาร มสธ.นึ่งในผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราชและเป็นผู้พัฒนา ระบบการสอนทางไกล "แผนมสธ."

 อุปนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

อธิการบดีผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมการ (Dhammakaya Open Umiversity-DOU), Asuza, California (2001-2)

อนุกรรมาธิการอุดมศึกษา วุฒิสภา และที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ คณะกรรมาธิการการศึกษา ศาสนา และวัฒรธรรม วุฒิสภา

อดีต:

รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ และรองอธํิการบดีฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ผู้อำนวยการสำนักฝึกอบรม เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สถาบันพระปกเกล้า

ผู้อำนวยการสำนักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

UNESCO/UNDP Expert (Indonesia, Sri Lanka, Maldives, Laos, Malaysia, Japan, India, Pakistan)