จดหมายเปิดผนึกถึงรัฐบาลนายกเศรษฐา
ทวีสิน
เรื่อง
๑๕ แนวทางการปฏิรูปการศึกษา
๒๕๖๖
เรื่อง
เสนอแนะแนวทางการปฏิรูปการศึกษาไทย
เรียน ฯพณฯ
เศรษฐา ทวีสิน
นายกรัฐมนตรี
ด้วยกระผม
ศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ศาสตราจารย์ ระดับ ๑๑
สาขาวิชา การศึกษา ประธานสภาปฏิรูปการศึกษาแห่งประเทศไทย
ในนามสมาชิกที่เป็นคณาจารย์และนักการศึกษาไทยมีความห่วงใยคุณภาพการศึกษาของชาติเป็นอย่างยิ่ง
เพราะหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ปรากฏสะท้อนให้เห็นคุณภาพการศึกษาที่ต่ำลง
อาทิ ผลการสอบของนักเรียนทุกระดับชั้น
สอบตกเกือบทุกกลุ่มสาระและทุกวิชา
และคุณภาพการศึกษาที่ตกต่ำอยู่ในระดับ ๘ ของประชาคมอาเซียน
ทั้งๆ
ที่ประเทศไทยได้จัดสรรงบประมาณด้านการศึกษามากเป็นอันดับต้นๆ
ของงบประมาณที่จัดให้กระทรวงทะบวงกรมต่างๆ พวกเราเชื่อว่า
คุณภาพการศึกษา
เป็นรากฐานการพัฒนาคุณภาพการเศรษฐกิจการเมืองและการปกครองของประเทศ
หากเราไม่ทำอะไรเลยในภาพรวมเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาแล้ว
อนาคตของประเทศไทยจะน่าเป็นห่วงมาก
เพราะกระทบกระเทือนกับความมั่นของของชาติอย่างแน่นอน
กระผมจึงขออนุญาตเสนอแนะแนวทางการปฏิรูปการศึกษา ๑๕ ประการเพื่อให้ ฯพณฯ
ท่านสั้งการให้คณะกรรมการที่เกี่ยวข้องนำไปพิจารณาพัฒนาการศึกษาของชาติให้ดีขึ้นดังนี้
ประการแรก
ปรับและทบทวนกฎหมายการศึกษาและระบบการศึกษาระดับชาติ
ระดับภูมิภาค และระดับท้องถิ่น
ให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศและความเจริญก้าวหน้าของโลก
ให้มีสมดุลระหว่างการศึกษาเพื่อเสริมสร้างลักษณะความเป็นไทย
และวิถีไทย และความเป็นสากล กำหนดให้สถานศึกษา
สถาบันอุดมศึกษา
และเขตพื้นที่ตราธรรมนูญและระบบการศึกษาของตนเองเพื่อเป็นกฎหมายรองจากกฎหมายหลัก
และมีการพัฒนาแผนแม่บทวิชาการนำแผนแม่บทการบริหาร
โดยเฉพาะพระราชบัญญัติการศึกษาชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒
ที่บรรจุสารบัญญัติตามแบบตะวันตก
โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาในหลายหมวดหลายมาตรา
ทำให้ไม่สามารถจัดการศึกษาที่มีคุณภาพให้เหมาะสมกับกับผลิตประชาชนให้เติบใหญ่เป็นคนไทย
ไม่สามารถพัฒนาคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นดีและเป็นคนเก่ง
จนทำให้ประเทศชาติเดือดร้อนจากการฉ้อราษฎร์บังหลวงที่น่าอัปยศที่สุดในประวิติศาสตร์ไทย
ประการที่ ๒ ปฎิรูประบบฝึกหัดครูของวิทยาลัยครู
คณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์
โดยเน้นครูมืออาชีพที่คัดเลือกผู้ที่มีความถนัด มีสถิติปัญญา
และทัศนคติ ความเป็นครู เน้นการเป็นครูอย่างมีระบบ
ไม่เน้นการ "สอน" ด้วยการ "ขายเสียง" คือ "พ่นความรู้"
แต่ใช้วิธีการสอนที่าเน้นประสบการณ์
และการเรียนอย่างกระฉับกระเฉง (Active Learning)
โดยมีเงินเดือนและค่าตอบแทนครูสูง
และช่วยเหลือให้ครูปลดหนี้ตนเอง
และทบทวนระบบการเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งของครูในสถานศึกษาที่เน้นการสอนเป็นหลัก
มิใช่ให้ครูสร้างผลงานในแนวเดียวกับการเข้าสู่ตำแหน่งของคณาจารย์มหาวิทยาลัย
ประการที่ ๓
ปรับปรุงหลักสูตรทุกระดับการศึกษาที่เน้นความเป็นไทย
ไม่ลอกเลียนแบบหลักสูตรจากต่างประเทศโดยยึดหลักการพัฒนาเนื้อหา
สาระไทย ควบคู่ไปกับ สาระเทศ เน้นการพัฒนาทักษะชีวิต
เพื่อพัฒนาเด็กไทยให้เติบใหญ่เป็น คนไทย
ที่มีสำนึกและภาคภูมิใจในความเป็นไทย
มีความรู้ในประวัติศาสตร์ไทย
ในฐานะถิ่นกำเนิดศาสนาและวัฒนธรรมของโลก
ภาคภูมิใจในขบบธรรมเนียม ประเพณี วิถีไทย ศาสตร์ วิทยาการ
เทคโนโลยีและความเป็นไทย
ประการที่ ๔ ให้ความสำคัญกับหลักสูตรท้องถิ่น
มากกว่าหลักสูตรแกนกลาง อย่างน้อยก็รักษาสมดุลระหว่างหลักสูตรแกนกลาง
หลักสูตรท้องถิ่น และหลักสูตรโรงเรียน
ปรับเนื้อหาสาระในหลักสูตรแกนกลางให้เน้นสมดุลระหว่างสาระไทยและสาระเทศในระดับประถมศึกษา
และมัธยมศึกษา สร้างสำนึกรู้ดี รู้ชั่ว รู้ถูกรู้ผิด
รู้ควรไม่ควร มีคุณธรรม จริยธรรม และความเป็นพลเมืองดี
ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
ตระหนักในสิทธิและหน้าที่ตนในระบอบประชาธิปไตย
ประวัติศาสตร์การต่อสู้ทางการเมืองและพัฒนาการประชาธิปไตย
และปรับปรุงทักษะทางอาชีพและทักษะสำหรับศตวรรษที่ 21
ประการที่ ๕
พัฒนาธรรมนูญ (กฎหมายรอง) และระบบการศึกษาระดับสถานศึกษาและเพิ่มทางเลือกในการศึกษาระดับพื้นฐาน
การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย การศึกษาเอกชน
และการศึกษาในบ้าน (Home Schooling) โดยให้แต่ละสถานศึกษา
มีธรรมนูญสถานศึกษาเพื่อเป็นกฎหมายรอง (Bylaws) และ
มีระบบการศึกษาเป็นของสถาบันเอง
เพื่อป้องกันการบริหารและการจัดการตามของผู้บริหารสถานศึกษาที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
ให้สามารถบริหารได้อย่างต่อเนื่องแบบเปลี่ยนผ่านต่อยอด
(Transformation) มิใช่ตัดตอน (Transaction)
เมื่อเปลี่ยนผู้บริหาร
ประการที่ ๖
ทบทวนการจัดเขตพื้นที่การศึกษาที่จะตอบสนองความต้องการของประชาชน
เน้นการพัฒนาคุณภาพของโรงเรียนประจำหมู่บ้านหรือโรงเรียนขนาดเล็ก
โดยเปลี่ยนโรงเรียนขนาดเล็กเป็น "ศูนย์การศึกษาชุมชน"
(ตามที่จะเสนอในข้อ ๙) สำหรับประชาชนทุกเพศทุกวัย
มิใช่สำหรับเด็กอย่างเดียว ด้วยการใช้เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาช่วยในการจัดการศึกษา
อาทิ
การใช้คอมพิวเตอร์แผ่นหรือแท็บเล็ตเป็นแหล่งความรู้ติดตัว
แทนการปิดโรงเรียนขนาดเล็กเพื่อคุณภาพการศึกษาและคุณภาพชีวิตของนักเรียนและผู้ปกครอง
ประการที่ ๗
พัฒนาระบบการบริหารและการจัดการให้เป็นสากล
ครอบคลุมการบริหาร ๗ ขอบข่าย ได้แก่ การบริหารทั่วไป
การบริหารวิชาการ การบริหารกิจการนักเรียนนักศึกษา
การบริหารบุคลากร การบริหารเงินและงบประมาณ
การบริหารกิจการชุมชน และการบริหารวิสาหกิจสถานศึกษา
ประการที่ ๘ พัฒนาระบบการเรียนการสอน
และระบบการประเมินที่เป็นของไทย แทนการนำเข้าจากต่างประเทศ
เพื่อให้สามารถแข่งขันได้เมื่อประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
เช่นระบบการสอนแบบอิงประสบการณ์
ที่เน้นให้เยาวชนไทยได้เผชิญประสบการณ์ในการคิดเป็นทำเป็น
แก้ปัญหาเป็น ไม่เน้น การเรียนรู้
แต่ส่งเสริมให้มีการเรียนคิด เรียนทำ เรียนแก้
และพัฒนาทักษะชีวิตเพื่อให้เด็กไทยเติบใหญ่เป็นผู้ใหญ่ที่รู้ดีรู้ชั่ว
รู้ถูกรู้ผิด และรู้ควรไม่ควร
ประการที่ ๙ พัฒนาระบบและขยายการศึกษาพื้นฐานครบวงจร
ด้วยการสร้าง "ศูนย์การศึกษาชุมชน" ประกอบด้วยสถานเด็กเลี้ยงดูอ่อน
ปฐมวัยศึกษาหรืออนุบาล เพิ่มจากประถมศึกษาใoระดับท้องถิ่น
เพื่อลดภาระของผู้ปกครองและแก้ปัญหาโครงสร้างประชากร
สร้างห้องสมุด 24 ชั่วโมงสำหรับการเรียนรู้ในชุมชน
พัฒนารูปแบบโรงเรียนสามภาษา คือ ภาษาไทย อังกฤษ
จีนหรือภาษาอื่นในชุมชนที่มีความพร้อม
ประการที่ ๑๐ ส่งเสริมบทบาทการจัดการศึกษาของภาคเอกชน
ภาคประชาสังคมและชุมชนท้องถิ่นโดยเฉพาะในท้องถิ่น
และลดบทบาทของภาครัฐให้เน้นการจัดสรรงบประมาณอุดหนุนฝั่งผู้เรียน
(Demand-Side Subsidy) เช่น
ผ่านกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต
(กรอ.) เพื่อสนับสนุนให้ได้รับการศึกษาถึงระดับมหาวิทยาลัย
ประการที่ ๑๑ เน้นการจัดการศึกษาแบบอิงประสบการณ์
ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางมากกว่าการศึกษาแบบอิงเนื้อหาจากการสอนแบบบรรยายโดยยกระดับอาชีวศึกษาและเทคนิคศึกษา(Technical
& Vocational Education)
ให้เป็นสายหลักคู่ขนานกับสายสามัญในการพัฒนาประเทศ
สามารถพัฒนาอาชีวะและเทคนิคศึกษาถึงความเป็นเลิศ
ทั้งทางวิชาการ วิจัย และประสบการณ์การปฏิบัติอย่างมืออาชีพ
ประการที่ ๑๒ พัฒนาระบบเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
ให้มีนักเทคโนโลยีการศึกษาเป็นตำแหน่งครูอาจารย์สำหรับสถานศึกษาประจำโรงเรียนในตำแหน่งครู
สร้างระบบคลังสื่อการสอนทั่วประเทศ
และระบบจัดอันดับสื่อการสอนเพื่อเป้าหมายการพัฒนาคุณภาพการสอน
ประการที่ ๑๓ จัดระบบ การฟื้นฟู พัฒนา อนุรักษ์
และเผยแพร่ศิลปะวัฒนธรรม
ด้วยการสร้างสำนึกวัฒนธรรมในฐานะมรดกไทย ปกป้อง
คุ่มครองและสร้างภูมิคุ้มกัน และความภาคภูมิใจในขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของชาติ
ประการที่ ๑๔ จัดระบบการพัฒนาการกีฬาสู่มาตรฐานสากล
เพื่อพัฒนาความมีระเบียบวินัย และการรักษาสุขภาพในระยะยาว
ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา
เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในระดับโลก พัฒนากีฬาและการร้อง
การรำ และการละเล่นท้องถิ่นและภูมิภาค
ประการที่ ๑๕ จัดระบบการวิจัย พัฒนา และเผยแพร่
และถ่ายทอดศาสตร์และเทคโนโลยีไทย ในด้านการแพทย์ การอาชีพ
และการดำรงชีวิตในโรงเรียนและชุมชน
ในช่วงเวลาไม่ถึงสองสามเดือนที่ผ่านมา
ฯพณฯ ท่านและทีมงานรัฐบาล
ได้แสดงภาวะผู้นำที่จะนำประเทศให้รอดพ้นจากหายนะหลายด้านและตรงกับความต้องการของประชาชนที่ต้องการเห็นความสงบเรียบร้อยกลับสู่แผ่นดิน
เชื่อมั่นว่า ฯพณฯ ท่านจะสามารถคืนความสุขให้ชาติได้อย่างดี
แต่จะดีเลิศยิ่งขึ้นหากได้มีการปฏิรูปการศึกษาทั้งประการที่กระผมได้กราบเรียนเสนอมาข้างต้น
ขอแสดงความนับถืออย่างสูง
ศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์
พรหมวงศ์
ประธานสภาปฏิรูปการศึกษาแห่งประเทศไทย
เทคโนโลยีการแพทย์
vs.
เทคโนโลยีการศึกษา
ศ.ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์
เมื่อวันที่
20 มีนาคม 2557
ผมนำทีมคณาจารย์จัดตั้งคณะแพทย์ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
ไปประชุมกับทีมงานของมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
ของกรุงเทพมหานคร
เพื่อเตรียมเปิดคณะแพทย์และหลักสูตรแพทยศาสตร์
ที่งมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
ก่อนประชุมคณะผู้บริหารประกอบด้วยนายแพทย์ธรรมนูญฯ
รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ และนายแพทย์มาโนชฯ
คณบดีคณะแพทย์ของนวมินทราฯ
พาพวกเราเยี่ยมชมกิจการของโรงพยาบาลวชิระ
ทำให้ผลเกิดความรู้สึกอย่างแรงที่จะต้องมีการเปลี่ยนกระบวนทรรศน์การจัดการศึกษาของไทย
ที่คุรุสภาเพียร
พยายามที่จะทำให้เป็นวิชาชีพชั้นสูงในนัยเดียวกับทางการแพทย์
โดยการบังคับให้เรียนครู 5 ปี
เช่นเดียวกับสายแพทย์ (ความจริงมีแนวคิดจะให้เรียน
6 ปีด้วยซ้ำไป)
กฎหมายนิรโทษกรรม-ขวานนรกทำลายเสาหลักนิติรัฐของแผ่นดิน
โดย กุหลาบแดง
#22

เมื่อ
257 ปีมาแล้ว
มองทางขวามมือ
ของอนุสาวรีย์
ไปสุดขอบฟ้า
บ้านเมืองลุกเป็นไฟเพราะศัตรูมา
ย่ำยี
แต่วีรบุรุษบางระจัน
และวีรสตรี 3
คนที่ไม่ปรากฎชื่อในประวัติศาสต
ร์ได้พลีชีพปกป้องผืนแผ่นไทยไว้
ในลูกหลาน...
อนิจจา
ปัจจุบัน
ลูกหลานอัปรีย์บางคน
บางกลุ่ม
ได้ทำตัวเป็น"ฝูงปลวก"
ไชชอนกินบ้านกินเมืองอย่างไม่ละอายแก่ใจ
ทำความชั่ว ความผิด
ด้วยการแอบอ้างคำว่า
"ประชาธิปไตย"
(แบบฝรั่ง) ประพฤติตนโดยไร้สำนึกคุณธรรม ไม่รู้ดีรู้ชั่ว
ไม่รู้ถูกรู้ผิด ไม่รู้อะไรควรไม่ควร กระทำตนประหนึ่งสภาโจ....
ทำไมสถาบันการศึกษาต้องมีธรรมนูญหรือกฎบัตรองค์กร
โดย ศาสตราจารย์
ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์
ปัญหาที่มหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาทุกระดับเผชิญอยู่ในขณะนี้คือ
การบริหารและการจัดการแบบตัดตอน (Transactions) แทนที่จะเป็นการบริหารและการจัดการแบบเปลี่ยนผ่าน
(Transformation) ทำให้การบริหารและการจัดการขาดความต่อเนื่องเพราะเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสภามหาวิทยาลัย
หรือ
เปลี่ยนแปลงอธิการบดี
โครงการหรือกิจกรรมที่กำลังดำเนินอยู่ก็อาจถูกระงับโดยผู้บริหารชุดใหม่
สภาสถาบันและผู้บริหารระดับอธิการบดี
ผู้อำนวยการ
อาจารย์ใหญ่
หรือครูใหญ่
ส่วนใหญ่บริหารและจัดการตามความคิดของตัวเอง
แม้จะมีสภาสถาบันหรือคณะกรรมการสถานศึกษาเป็นองค์คณะบุคคลในการกำหนดอุดมการณ์
(ปรัชญา ปณิธาน
วิสัยทัศน์ พันธกิจ)
เป้าหมาย นโยบาย
มาตรการ กลยุทธ์
และตัวบ่งชี้ก็ตาม
แต่สภาสถาบันและคณะกรรมการสถานศึกษาส่วนใหญ่ไม่ดำเนินตามบทบาทและอำนาจหน้าที่ที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย
หรือ
แสดงบทบาทอำนาจหน้าที่ตามดุลยพินิจตนเองจนบ่อยครั้งเกิดความเสียหายแก่สถาบัน
(ไฟล์
ตัวอย่างธรรมนูญมหาวิทยาลัย
PDF โปรดคลิ้ก)
ตำราพิชัยสงครามซุนวูหรือจะสู้ตำราพิชัยซุนแม้ว
(สงครามสารขันธ์กับพม่า
vs.
สงครามสารขันธ์กับแม้ว)
โดย กุหลาบแดง #๒๒
ในประวัติแห่งการต่อสู้ของชนชาติสารขันธ์ที่นับเนื่องมามากกว่า
8,000 ปี
ในดินแดนที่เรียกว่าสุวรรณภูมิ
ชาวสารขันธ์ได้ต่อสู้ปกป้องแผ่นดินและขยายอาณาเขตออกไปกว้างใหญาไพศาลถึง
1.2 ล้าน ตารางกิโลเมตร
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นับว่า
ได้ขยายดินแดนไปมากที่สุด
แต่ถูกจักรวรรดินิยมตะวันตกย่ำยีบีบคั้น
เฉือนดินแดนไปเกินครึ่ง
จึงเหลือเพียง 543,000 ตารางกิโลเมตรในปัจจุบัน