บทความใหม่
คุณลักษณะที่ยิ่ง
๑๐ ประการ สำหรับนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทยที่ชื่อยิ่งลักษณ์
โดย ศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์
พรหมวงศ์
ในที่สุดก็เป็นไปตามความคาดหมายเมื่อพรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้งอย่างท่วมท้น
ชนะพรรคประชาธิปัตย์อย่างขาดลอย
ทำให้ประเทศไทยได้สตรีมาเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกในประวัติศาสตร์
แต่ความสำเร็จในการเป็นผู้นำขึ้นอยู่กับคุณลักษณะหลายประการ
และต้องหลีกเลี่ยงปัจจัยลบหลายประการเช่นเดียวกัน
เมื่อคุณยิ่งลักษณ์
เป็นผู้ที่ได้รับโอกาสในการขึ้นมาบริหารประเทศ
จำเป็นจะต้องมีคุณลักษณะสมชื่อคือ
มี "คุณลักษณะที่ยิ่ง"
กว่าคนอื่น
ต้องมีมากกว่าประชาชนทั่วไป
กล่าวคือ
เป็นผู้มีปรัชญา
มีวิสัยทัศน์
เทิดทูนระบบไทย
มีความรู้
มีความสามารถในการบริหารและการจัดการ
มีวุฒิภาวะผู้นำ
เสียสละ มีใจกว้าง
และความมีคุณธรรมจริยธรรม
หากขาดคุณลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง
ความเป็นผู้นำก็ด้อยลงไป
และมีผลต่อความเชื่อถือของประชาชน
ขาดความสง่างามที่จะบริหารประเทศ
ก่อนอื่น
คุณยิ่งลักษณ์หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองทุกตำแหน่งต้องเข้าใจเสียก่อนว่า
ไม่มีใครเกณฑ์หรือเชื้อเชิญท่านเข้ามาทำงานโดยที่ท่านไม่ได้สมัครใจ
ทุกคนก็ล้วนอาสาเข้ามาทำงานบริหารราชการแผ่นดินเป็นข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
จึงไม่มีสิทธิ์หรือไม่ควรที่จะแสดงอารมณ์
ก้าวร้าว
เหยียดหยามดูหมิ่น
ดูแคลนผู้ที่มีทัศนะแตกต่างจากตนเอง
หรือไม่ควรพร่ำบ่น ว่า
ตนเหน็ดเหนื่อย
ไม่ได้พักผ่อนหรือไม่มีโอกาสส่วนตัว
เป็นตัวของตัวเอง
ต่อไปนี้เป็นคุณลักษณะ
๑๐
ประการที่จะทำให้คุณยิ่งลักษณ์มีคุณลักษณะที่ยิ่ง
สำหรับการเป็นผู้นำประเทศ
ประการแรก
คุณยิ่งลักษณ์พึงถือปรัชญาการบริหารบ้านเมืองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
ที่มุ่งเทิดทูน ชาติ
ศาสนา
และพระมหากษัตริย์
และปฏิบัติหน้าที่เต็มความรู้ความสามารถที่จะยังความเจริญรุ่งเรืองให้ประเทศชาติ
มิใช่เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของตนเอง
ครอบครัวและญาติมิตร
ประการที่สอง คุณยิ่งลักษณ์พึงมีวิสัยทัศน์เศรษฐกิจพอเพียง
ที่จะมองภาพอนาคตอย่างชัดเจน
ในการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าอย่างสมดุลทั้งทางวัตถุและจิตใจ
ในขณะที่สังคมเมืองมีตึกอาคารใหญ่โต
มีตึกระฟ้าและแสงสีแห่งวัฒนธรรมตะวันตก
ก็ไม่ควรให้สังคมบ้านต้องกลายเป็นอย่างเมืองฝรั่ง
สังคมบ้านก็ควรรักษาความเป็นไทยทีสอด
คล้องกับประเพณีไทย
เป็นวิสัยทัศน์ที่ไม่ทำให้ประชาชนมีความเร่าร้อนใจ
เพราะต้องแข่งขันการสร้างความมั่งมี
แต่ควรมุ่งให้ประชาชน อยู่เย็นเป็นสุข
มีความเป็นอยู่อย่างพอเพียง
ก็ลองเทียบดู รถยนต์ที่วิ่งด้วยความเร็วสูงต้องสิ้นเปลืองพลังงานมากฉันใด
การพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญเติบโตเร็วเกินไปก็เผาผลาญทรัพยากรของชาติอย่างสิ้นเปลือง
หมดหายไปอย่างรวดเร็วฉันนั้น
แล้วจะเหลืออะไรให้ชนรุ่นหลัง
จะไม่เป็นการเบียดบังลูกหลานเกินไปหรือ?
ประการที่สาม คุณยิ่งลักษณ์
พึงเห็นคุณค่าและเทิดทูนระบบไทย
วิถีไทย
และภูมิปัญญาไทย
บรรพบุรุษสร้างบ้านแปงเมือง
ต่อสู้
หลั่งเลือดเพื่อแผ่นดินไทยมาหลายพันปี
ดินแดนไทยเป็นอู่อารยธรรมของโลกและแผ่ซ่านไปทุกสาระทิศ
แต่พวกเรากลับดูหมิ่นดูแคลน
ระบบไทย วิถีไทย
และภูมิปัญญาไทย
และสำคัญผิดว่า
สิ่งที่ตนมีอยู่ในปัจจุบันนำมาจากต่างประเทศ
คุณยิ่งลักษณ์ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการเคารพเทิดทูนระบบไทย
มิใช่นำเอาระบบ
วิถีชีวิต
และภูมิปัญญาต่างชาติเข้ามาครอบงำ
ที่ร้ายแรงมากก็คือ
เชื่อฝรั่งมากจนยอมให้สิ่งที่เป็นของไทย
ไปเป็นของอินเดีย เช่น
ศาสนาพราหมณ์
พระพุทธศาสนา
รามเกียรติ ภาษาบาลี
ฯลฯ
ก็ยกให้เป็นของอินเดียจนหมดสิ้น
ประการที่สี่ คุณยิ่งลักษณ์ต้องหาหรือพึงมีความรู้รอบในศาสตร์และวิทยาการต่างๆ
อย่างสมดุลทั้งองค์ความไทยและองค์ความรู้สากล
มิใช้พึ่งพาองค์ความรู้จากต่างประเทศ
ผู้นำบางคน กางตำราฝรั่ง
บริหารบ้านเมือง
ใช้บ้านเมืองเป็นสถานฝึกงานวิชาบริหารธุรกิจ
โดยไม่คำนึงถึงความจริงที่ว่า
ศาสตร์ว่าด้วยการบริหารของไทยก็นำพาประเทศชาติให้รอดพ้นปากเหยี่ยวปากกาของบรรดา
แร้ง
ที่แสวงหาอาณานิคมมาแล้ว
แต่ตนเองก็พยายามชวน
แร้ง เหล่านั้นมาทึ้งเลือดเนื้อของชาวไทยกันเอง
ดังกรณีการลดค่าเงินบาท
ทำลายสถาบันการเงิน
แต่กลับปล่อยให้ต่างชาติมาซื้อธนาคาร
ธุรกิจในราคาถูกแล้วนำกลับมาขายให้คนไทยในราคาแพง
ประการที่ห้า คุณยิ่งลักษณ์ต้องมีความสามารถในการบริหารและการจัดการ
ต้องแยกให้ออกระหว่างแนวคิดการจัดการ
และแนวคิดการบริหาร
การบริหารเป็นเรื่องการกำหนดนโยบาย
การกำกับควบคุม
ส่วนการจัดการเป็นเรื่องการปฏิบัติตามนโยบายนั้น
ต้องทำความกระจ่างเกี่ยวกับแนวคิดในการบริการราชการแผ่นดิน
ที่มีทั้งการบริหารราชการ
ตามนโยบายของรัฐบาล
และการบริหารราชกิจ
คือ ปฏิบัติหน้าที่ ต่างพระเนตรพระกรรณ
ได้แก่ ราชทูต
และผู้ว่าราชการ
มิใช่นำสองแนวคิดมาผสม
ปะปนกัน และอ้างว่า
เป็นการบริหารแบบธุรกิจ
โดยการใช้
แนวคิดซีอีโอ
จนสับสนวุ่นวายอย่างที่เป็นอยู่ในขณะนี้
และต้องแยกให้ออกระหว่างประโยชน์ส่วนตนส่วนกลุ่มและประโยชน์ประเทศชาติและส่วนรวม
ความจริงประการหนึ่งที่ต้องรับทราบไว้
คือ สมัยนี้
หมดยุคที่จะมีผู้นำเดี่ยวอีกแล้ว
ผู้นำในปัจจุบันและอนาคต
จึงต้อง
เป็นคณะผู้นำที่มีหลายหัวช่วยเหลือและแสดงความคิดเห็น
มิใช่คนเดียวพูดกลายเป็นมติและกลายเป็นกฎหมาย
คนอื่นก็ หงอ
เออ
ออตามไม่กล้าโต้แย้ง
เพราะเกรงจะอดจะขาดโภคทรัพย์ที่ผู้นำคนนั้นเจียดให้
หากเป็นเช่นนี้
ก็จะทำให้บ้านเมืองเดือดร้อนไม่มีที่สิ้นสุด
ผู้นำเดี่ยวมักจะพบเห็นในยุคเผด็จการเท่านั้น
ประการที่หก คุณยิ่งลักษณ์ต้องมีวุฒิภาวะ
ทั้งวุฒิภาวะความเป็นมนุษย์
และวุฒิภาวะทางการเมือง
วุฒิภาวะความเป็นมนุษย์หรือผู้มีใจสูง
คือ
การใช้สามัญสำนึกรู้ผิดถูก
รู้ชั่วดี
ต้องระวังสำรวมจะคิด
จะพูด จะทำอะไร
ก็ให้ถูกกาละเทศ
ไม่ปล่อยให้คนนอกแม้จะเป็นพี่น้องของตนมามีอำนาจเหนือตน
ไม่นำสิ่งที่พูดในครอบครัวมาพูดให้ภายนอกได้ฟังเพียงเพื่อจะแสดงว่า
ตนเป็นคนของครอบครัว
ส่วนวุฒิภาวะทางการเมือง
คือ ความรู้เท่าทันว่า
เราอาสามารับใช้ชาติบ้านเมือง
ไม่ได้มาเป็นเจ้านาย
หรือมาเป็นเจ้าของประเทศ
เมื่อมีการต่อต้านก็ต้องไม่ยึดมั่นถือมั่น
รับฟัง
ไม่หวงแหนเก้าอี้หรือตำแหน่ง
ไม่แสดงอารมณ์
โกรธกริ้ว
มีโทสะเมื่อมีผู้แสดงความคิดเห็นต่าง
ประการที่เจ็ด คุณยิ่งลักษณ์ต้องเสียสละ
เห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน
ผู้นำมักจะรอให้บริวารอิ่มก่อนที่ตนเองจะบริโภค
จะรู้สึกอายที่จะรับ
แต่รู้สึกองอาจเมื่อเป็นผู้ให้
และมักจะให้โดยไม่หวังผลตอบแทน
การเสียสละที่ยิ่งใหญ่
คือ
การเสียสละความสุขส่วนตนและครอบครัวเพื่อความสุขของส่วนรวมและประเทศชาติ
คุณยิ่งลักษณ์จะเสียสละได้ก็เมื่อขจัดกิเลสคือ
ความโลภให้เหลือน้อยที่สุด
ประการที่แปด คุณยิ่งลักษณ์ต้องเป็นคนใจกว้าง
รับฟังความคิดเห็นของเพื่อนร่วมชาติ
โดยไม่คิดว่า
คนเหล่านั้นจะมา ขัดลาภ
เลื่อยเก้าอี้
หรือหาเรื่อง
กลั่นแกล้ง
อิจฉาริษยาตนเอง
รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.
๒๕๕๐
เน้นการเมืองภาคประชาชน
คือ
ต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วม
จึงต้องรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
คุณยิ่งลักษณ์
ควรฟังทัศนะ
คำวิพากย์ วิจารณ์ของ
ผู้รู้ นักวิชาการ
และนักปราชญ์
ซึ่งเป็นผู้มีความรู้และประสบการณ์
มิใช่มัวตอบโต้
ดูหมิ่นดูแคลนนักวิชาการ
ไม่ดูหมิ่นดูแคลนข้าราชการ
คิดว่า ข้าราชการมีสติปัญญาด้อยกว่านักธุรกิจ
ปัจจุบันอาจจะเป็นความจริงที่คนมีสติปัญญาที่สำเร็จการศึกษาใหม่ๆ
จำนวนไม่น้อยไม่อยากรับราชการ
แต่อดีตไม่ใช่
เพราะในอดีตนั้นคนมีปริญญามีสติปัญญาจะเลือกเข้ารับราชการมากกว่าเข้าสู่วงการธุรกิจ
ดังนั้น
ผู้นำจะต้องไม่คิดว่า
นักวิขาการที่เป็นข้าราชการก็ดี
เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยก็ดี
มีสติปัญญาด้อยกว่าตนเหมือนอดีตนายกรัฐมนตรีบางคน
ประการที่เก้า คุณยิ่งลักษณ์ต้องสามารถควบคุมอารมณ์
จริงใจ และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
ไม่หลงตน ว่า
เป็นผู้เสียสละ
ทำประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติ
จึงเห็นคนอื่นต่ำกว่าตนเอง
เมื่อมีคนวิพากษ์วิจารณ์ก็ควบคุม
อารมณ์ไม่ได้
ในการบริหารองค์กร
สิ่งที่ถือว่า
เป็นลักษณะเลวร้ายที่สุดของหัวหน้าหน่วยงาน
คือ
การแสดงอาการโกรธให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาเห็น
โดยแสดงอาการโกรธเกรี้ยว
พูดจากกระโชก ตระหวาด
ฯลฯ
เพราะเป็นพฤติกรรมที่ขัดกฎหมายรัฐธรรมนูญในมาตราที่ว่า
ด้วยศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
ประการที่สิบ คุณยิ่งลักษณ์ต้องเป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม
คุณธรรม คือ
สภาวะแห่งความดี
จริยธรรม คือ
บรรทัดฐานของการประพฤติปฏิบัติ
ตามคุณธรรม
คือ ซื่อสัตย์ สุจริต
คิด พูด
และกระทำในที่แจ้ง
ไม่หลบหลีก ซอกแซก
เร้นรับ
ต้องมีพรหมวิหาร 4 คือปรารถนาให้ประชาชนมีความสุข
ต้องการให้เขาพ้นทุกข์
ชื่นชมยินดีเมื่อประชาชนได้ดีมีความสำเร็จ
และเป็นกลาง ไม่คิดว่า
ประชาชนเป็นฝ่ายตรงกันข้าม
แม้แต่ฝ่ายค้าน
ต้องแยกบทบาทให้เด็ดขาดระหว่างความเป็นนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี
ซึ่งต้องเป็นกลางอย่างมั่นคง
กับ
บทบาทการเป็นหัวหน้าพรรคหรือผู้บริหารพรรค
ซึ่งมีฝ่ายค้านฝ่ายไม่เห็นด้วย
ผู้นำต้องมีเทวธรรม
คือ
ละอายต่อบาปและเกรงกลัวบาป
คือ เชื่อว่า ทำดีได้ดี
ทำชั่วได้ชั่ว
ควรเชื่อว่า
นรกสวรรค์มีจริง
และควร เชื่อตอนเป็น
ดีกว่าเห็นตอนตาย
คุณยิ่งลักษณ์ต้องเคารพรัฐธรรมนูญ
ไม่หาทางหรือช่องโหว่ที่จะตีความกฎหมายเพื่อเข้าข้างตนเอง
หากพิจารณาตามความเป็นจริง
แล้ว
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ. ๒๕๕๐
ไม่มีอะไรที่ต้องปรับปรุงแก้ไข
หากคุณยิ่งลักษณ์มีคุณธรรมจริยธรรม
ไม่
เข้าไปก้าวก่ายครอบงำองค์กรอิสระหรือกระบวนการที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญเพื่อประโยชน์ตัว
คุณลักษณะ ๑๐ ประการนี้
ใช้ได้ทุกองค์กร
ทุกประเทศ
ไม่เฉพาะประเทศไทย
หากคุณยิ่งลักษณ์รักษาคุณลักษณะ
๑๐ ประการได้ และผมเชื่อมั่นว่า
คุณยิ่งลักษณ์จะทำได้
เมื่อนั้นคุณลักษณ์
ก็จะสามารถกอบกู้ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณที่พี่ชายคุณยิ่งลักษณ์ได้ทำไปแล้ว
เมื่อนั้นคุณยิ่งลักษณ์จะได้ชื่อว่า
เป็นผู้ทำบุญแก่ประเทศชาติอย่างอเนกอนันต์
(อ่านต่อโปรดคลิ้ก)
ภาพพจน์นักการเมืองไทย-ไม่มียุคใดเสื่อมทรามถูกเปรียบเปรยเป็นสัตว์เหมือนยุดนี้
โดย
กุหลาบแดง #22
ผมแทบไม่เชื่อเลยว่า
จะได้เห็นความตกต่ำของการเมืองไทยที่นักการเมืองมีพฤติกรรมโกงชาติโกงแผ่นดิน
เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนส่วนพรรค
มากกว่าประโยชน์ของประเทศชาติ
เหมือนในพ.ศ.นี้
ในปีที่ประเทศชาติมีความแตกแยกทางความคิด
นักการเมืองทั้งฝ่ายรัฐบาลหรือฝ่ายค้านไม่เป็นเดือดเป็นแค้นกับการสูญเสียแผ่นดิน
และยอมให้ประเทศเพื่อนบ้านดูหมิ่นเหยียดหยามจนแทบจะไม่เหลือศักดิ์ศรีของความเป็นประเทศที่เป็นมหาอำนาจ
ในแหลมทองก่อนที่จะถูกฝรั่งตาน้ำข้าวเข้ามาย่ำยี
ยึดดินแดนจาก 1.2
ล้านตารางกิโลเมตรของอาณาจักรไทย
จนเหลือไม่ถึงครึ่งของพื้นที่ประเทศไทยที่เคยมี
เมื่อมีประชาชนประณามนักการเมือง
เชิญชวนไม่ให้ปล่อยสัตว์เข้าสภา
ก็ต้องถือว่า พวกเขาคงเหลืออดจริงๆ
ดัวยเหตุนี้
ผมจึงลองวิเคราะห์ดูแล้ว
ก็พบว่ามีนักการเมืองหลายประเภทมีพฤติกรรมเยึ่ยงสัตว์จริงๆ
ผลการวิเคราะห์ อาจไม่ดรงกับที่ผู้ชุมนุมประท้วงและเชิญชวนให้ประชาชน
"Vote No" ก็ได้
ที่ผมวิเคราะห์ได้ 5
ประเภทคือ
(อ่านต่อโปรดคลิ้ก)
การยกเลิกกฎหมายละเมิดพระมหากษัตริย์-ทำเพื่อใคร
อะไรอยู่เบื้องหลัง
(อ่านต่อโปรดคลิ้ก)
แนะนำระบบการศึกษาไร้พรมแดน
มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
(อ่านต่อโปรดคลิ้ก)
Bangkokthonburi's
Borderless Education System: A Brief Introduction
(English
Please Click)
เสรีภาพทางวิชาการ-มีมากมายถึงกับจะพูดเข้าข้างศัตรูของชาติและท้าทายกฎหมายเชียวหรือ?
(อ่านต่อโปรดคลิ้ก)
การสลายพันธมิตรที่ชุมนุมโดยสันติ-ไม่กลัวการนับถอยหลัง
ไปสู่จุดจบของรัฐบาลหรือ?
(อ่านต่อโปรดคลิ้ก)
นายกรัฐมนตรีและรัฐบาลกับการรักษาอธิปไตยของชาติ-สมคบกันเข้าข้างเขมร
อย่างน่าสลดใจที่สุด!
(อ่านต่อโปรดคลิ้ก)
!
(อ่านต่อโปรดคลื้ก)
่
ดินแดนไทยติดชายแดนเขมรที่เป็นค่ายอพยพของสหประชาชาติ
ไทยปล่อยให้เขมรเข้ามาครอบครองตั้งแต่
พ.ศ. 2522 ได้อย่างไร?(อ่านต่อโปรดคลิ้ก)
ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง-ความคิดชวนตำหนิ
ของผู้บริหารประเทศที่หลงใหลฝรั่งจนลืมความเป็นไทย
(อ่านต่อโปรดคลิ้ก)
การเมือง:
กรณีพิพาทเขาพระวิหาร-ข้อเท็จจริงที่ทำไม
เขมรจึงปกป้องบันทึกความเข้าใจ
พ.ศ.2543-
(อ่านต่อโปรดคลิ้ก)
คุณธรรม:
คารวะ
"แม่"
แห่งแผ่นดินไทยจากอดีตจนถึงปัจจุบัน
(อ่านต่อโปรดคลิ้ก)
คุณธรรม:
โสฬสมาตาคติ:
ข้อควรรำลึกถึงพระคุณแม่
16 ประการ-
(อ่านต่อโปรดคลิ้ก)
การเมือง
"คำถามค้างใจกรณีไทยเกือบจะเสียดินแดนรอบ
เขาพระวิหาร-เป็นเพราะความไม่สนใจปัญหา
ความหวาดกลัว
หรือความไม่ไวต่อสถานการณ์ของรัฐบาล"-
.(อ่านต่อโปรดคลิ้ก)
การเมือง
การล้มเจ้าล้มสถาบัน-เหตุอันควรประท้วงดวงวิญญาณบรรพบุรุษ
"เสื่อผืนหมอนใบ"ที่เข้ามาพึ่งพระโพธิสมภารแต่ปล่อยให้ลูกหลานเนรคุณเจ้าของแผ่นดิน"(อ่านต่อโปรดคลิ้ก)
การเมือง
"ลักษณะสำคัญของการศึกษาที่เมืองไทยหลงทางมากกว่าร้อยปี"
- (อ่านต่อโปรดคลิ้ก)
การเมือง
"คุณธรรมนำการปรองดอง-เพียงยึดหลักนิติรัฐ
ความปรองดองจะเกิดขึ้นในบ้านเมือง"
(คลิ้กเพื่ออ่านต่อ)
การศึกษา
"การศึกษาระดับปริญญาโท-เอกในเมืองไทยและต่างประเทศ:
จุดด้อย จุดเด่นที่ควรส่งเสริมและค่านิยมที่ควรพัฒนา"-
(คลิ้กเพื่ออ่านต่อ)
ธรรมะกับชีวิต
"ฮวงจุ้ยที่"
ไหนจะสู้ "ฮวงจุ้ยใจ":
ความหลงผิดในศาสตร์ลมและน้ำของจีน
(อ่านต่อโปรดคลิ้ก)
การบ้านการเมือง
"5
อย่า"เพื่อความอยู่รอดของชาติ:
อย่ายุบสภา
อย่าปรองดองกับคนไม่ดี
อย่านิรโทษกรรมคนทำชั่ว
อย่าเกรงใจนักการเมืองเห็นแก่ตัว
และอย่าแก้ไขรัฐธรรมนูญ
(คลิ้กเพื่ออ่านต่อ)
ธรรมะกับชีวิต
ความรักของนกกระจิบ-ข้อเตือนใจคนที่ควรเอาเป็นตัวอย่าง
(คลิ้กเพื่อดูภาพและคำบรรยาย)
|
ใบประกาศเกียรติคุณผลงานศาสตราจารย์
ดร.ชัยยงค์
พรหมวงศ์
ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน
Who's
Who
in
the
World
(Twenty
Seventh
Edition
2010)
โดยความเห็นชอบของ
Marquist
Who's
Who
Publication
Board
สหรัฐอเมริกา
ในฐานะผู้ที่สร้างผลงานทางวิชาการ
และวิชาชีพดีเด่น
และได้บำเพ็ญตนเป็นประโยชน์
ต่อความเจริญของสังคม
ประวัติและผลงาน
ฉบับย่อ ฉบับละเอียด
พรรณนาประวัติ
ผลงานและทัศนะ
คติประจำใจ:
"ปราศจากความพยายามที่ทุรนทุราย
จะหาความเป็นเลิศ มิได้เลย"
 รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาทางไกล ประธานผู้บริหาร
(Chief
Executive
Officer-CEO) วิทยาลัยการศึกษาไร้พรมแดน มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
อดีต:
ดร.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์
ศาสตราจารย์ ระดับ ๑๑ ในชุดครุยผู้บริหาร มสธ.หนึ่งในผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัย
สุโขทัยธรรมาธิราชและเป็นผู้พัฒนา
ระบบการสอนทางไกล "แผนมสธ." อุปนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
อธิการบดีผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมการ
(Dhammakaya Open University-DOU), Asuza, California (2001)
อุปนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
อนุกรรมาธิการอุดมศึกษา
วุฒิสภา
และที่ปรึกษากิตติมศักดิ์
คณะกรรมาธิการการศึกษา ศาสนา
และวัฒรธรรม วุฒิสภา
รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ
และรองอธํิการบดีฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ผู้อำนวยการสำนักฝึกอบรม
เผยแพร่และประชาสัมพันธ์
สถาบันพระปกเกล้า
ผู้อำนวยการสำนักเทคโนโลยีการศึกษา
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
UNESCO/UNDP
Expert (Indonesia, Sri Lanka, Maldives, Laos, Malaysia, Japan, India, Pakistan)
โปรดแสดงความคิดเห็น
บทความเก่า
2549-51
ประชาธิปไตยเมืองไทยแบบพรรคเดียว
กำลังละม้ายสถานการณ์อดีตเผด็จการประชาธิปไตย
ของอินโดนีเซีย
เศรษฐาณานิคม:
วิวัฒนาการการล่าอาณานิคมจากอิสต์อินเดีย
ของอังกฤษในยุคเดิม มาเป็นเทมาเสกของสิงคโปร์ในยุคโลกาภิวัฒน์

ดร.ทักษิณเก่งจริงหรือมีอะไรเป็นปัจจัย
เกื้อหนุน-
-บุญวาสนา ความสามารถ โอกาส
หรือการผู้ขาด?

สาระสำคัญที่มิได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ:
สาระที่อาจต้องใช้อำนาจตามมาตรา 7เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งของบ้านเมือง
คุณลักษณะ
๑๐ ประการสำหรับผู้นำประเทศ 
ผู้ว่าซีอีโอ-ความสับสนในการบริหาร
ราชการแผ่นดิน
ระหว่างการบริหารราชการกับการบริหารราชกิจ

วิกฤตค่านิยม--สามเหรียญ
สามค่า
สาเหตุแห่งความขัดแย้ง: ความเก่งกับความดี
ความร่ำรวยกับความพอเพียง
และความรักปกป้องตนเองกับพวกพ้อง
กับความรักปกป้องชาติ
|