[เหตุแห่งความสงสัย][ พุทธโบราณสถาน][ ภูมิศาสตร์][ พุทธสถาปัตยกรรม][ วิถีชีวิตในพุทธกาล][ ภาษาสมัยพุทธกาล] <<<[หน้าบ้าน] [ ขนบธรรมเนียมประเพณี][ ตำนาน/งศาวดาร][ ข้อสังเกตเพิ่มเติม] <<<[หน้าแรกภาษาไทย]

 

 


 

เมื่อข่าวการเผยแพร่ความคิดที่ว่า พระพุทธเจ้า น่าจะไม่ได้อุบัติขึ้นในอินเดียโบราณ  คนไทยเป็นจำนวนมากไม่เชื่อ บางคนถามว่า "คิดได้อย่างไรนี่" หรือ "เหลวไหล เพ้อฝัน ไร้สาระ ไม่มีอะไรจะทำหรืออย่างไร  ทำไมไม่มุ่งดับทุกข์ตามคำสอนของพระองค์ มากกว่าที่จะมาพิสูจน์เรื่องอย่างนี้ สำคัญมากนักหรือว่า พระพุทธเจ้าจะเป็นชนชาติใด ผิดมากไหมหากจะไม่เห็นด้วย?

ทีมผู้วิจัยเห็นว่า เป็นเรื่องสำคัญ แม้จะไม่ผิด ที่ต้องพิสูจน์ว่า พระพุทธองค์ เป็นชนชาติไทย ใครเห็นว่า ไม่สำคัญก็คงบังคับไม่ได้ หากพ่อแม่เราเป็นคนไทย แล้วมีฝรั่งมาบอกว่า เรา เป็นแขก เราก็คงไม่รับ จริงไหม? แต่นี่ เป็นเรื่ององค์พระศาสดาที่เราเคารพเทิดทูน อยู่ๆ ก็มีฝรั่งที่จะมุ่งหวังลาภสักการะ หรือผลทางการเมืองอะไรก็ช่างเถอะ มาทำการเปลี่ยนแปลงประวัติพระพุทธศาสนา เพื่อแสดงว่า เชื้อชาติของเขายิ่งใหญ่ และก็ไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนา มาเขียนประวัติพุทธศาสนาใหม่ ต้องถามถึงความชอบธรรมด้วย ...ปฐม เหตุแห่งความสงสัยเกิดจากคำถามและข้อสังเกตบางประการ อาทิ

"เหตุใด ในประเทศไทย จึงมีโบราณสถานและโบราณวัตถุเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า เป็นจำนวนมาก แต่ในอินเดียและเนปาล กลับมีไม่ถึง ๒๐๐ แห่ง

"ทำไม พระเจ้าอโศกของอินเดียไม่ได้จารึกเรื่องสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๓ ไว้ในเสาหินอโศก ทั้งๆ ที่เป็นเหตุการณ์สำคัญมากตามที่บัญญัติไว้ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา.....

"ทำไมปีที่ขึ้นครองราชย์ของพระเจ้าอโศกอินเดีย (พ.ศ.๒๖๙-๓๐๖) จึงไม่ตรงกับข้อมูลที่เกี่ยวกับพระเจ้าอโศก (พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช) ที่ระบุในพระปฐมสมโพธิกถาว่า กระทำสังคายนาพระไตรปิฎก พ.ศ. ๒๓๕ และสิ้นพระชนม์ พ.ศ.๒๕๙ พระเจ้าอโศกอินเดีย กับพระเจ้าอโศกไทย จะเป็นคนละองค์กันหรือไม่....

"ช่วงเวลาเข้าพรรษา คือกลางเดือนแปด ถึงกลางเดือน ๑๑ ทำไมตรงกับเมืองไทยพอดี?'

ฯลฯ

ข้อสงสัยเหล่านี้ ประจวบกับ ข้อมูลที่ไม่ตรงกันระหว่างสภาพจริงในอินเดีย และในพระไตรปิฎก โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับสภาพภูมิประเทศ ประเพณี วิถีชีวิต โบราณคดี สถาปัตยกรรม ภาษา หลักฐาน/ตำนานไทย ฯลฯ ประกอบกับงานเขียนของพระธรรมเจดีย์ (ปาน) จุดชนวนทำให้พวกเราทำการศึกษาวิจัยเรื่องนี้ขึ้น

ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์  (อดีตพระอภิญญาโณภิกขุ)  ศาสตราจารย์ ระดับ ๑๑ หนึ่งในกลุ่มผู้นำการฟื้นคติเกี่ยวกับพุทธอุบัติภูมิ

วัตถุประสงค์การวิจัย

๑) พื่อพิสูจน์ว่า ชมพูทวีป คือ ดินแดนสุวรรณภูมิ และนำไปสู่การพิสูจน์ว่า พระพุทธอุบัติภูมิอยู่ในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน

๒) เพื่อศึกษาร่องรอยการประสูติ ตรีสรู้ ปฐมเทศนา การเผยแผ่ศาสนา และปรินิพพานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

๓) เพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับสังเวชนียสถานทั้ง ๔ คือ สถานที่ประสูติ ตรีสรู้ ปฐมเทศนา และปรินิพพานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเมืองต่างๆ ในพระไตรปิฎก

ขั้นตอนการวิจัย

ระยะที่ ๑ เป็นการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) จากพระไตรปิฎก อรรถกถาจารย์ เอกสารโบราณทางพระพุทธศาสนา ศิลาจารึก พงศาวดาร และตำนาน และสัมภาษณ์ผู้สูงอายุที่มีอายุเกิน ๙๐ ปี หรือผู้ที่ยังไม่ถูกครอบงำด้วยแนวคิดประวัติพระพุทธศาสนาจากตะวันตกและอินเดีย

ระยะที ๒  เป็นการศึกษาภาคสนาม โดยเดินทางไปศึกษาแนวลึกตามสถานที่ต่างๆ เพื่อหาร่องรอยการประสูติ ตรัสรู้ เผยแผ่ศาสนา และปรินิพพานทั้งในประเทศไทยและใกล้เคียง รวมทั้งในประเทศอินเดียและเนปาล

ระยะที่ ๓ เป็นการวิเคราะห์และหาข้อสรุปเพื่อกำหนดสถานที่ประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนา และปรินิพพาน พร้อมทั่งระบุเมืองต่างๆ จากหลักฐานทางโบราณคดีที่ได้จากการวิจัยระยะที่ ๑ และ ๒

 

โปรดดูภาพถ่าย

  "พระเจ้าอโศกอินเดีย กับพระเจ้าอโศกที่ทำสังคายนาพระไตรปิฎกเป็นคนละองค์แน่นอน"

  "สาระสำคัญจากจารึกวัดศรีชุม" (รับการสะกดคำบางคำเป็นแบบปัจจุบันเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น)

  "อ้อย: ต้นจืดปลายหงานกิจนานอร่อย" โดย พระธรรมเจดีย์(ปาน) ถอดความจากฉันท์ ๒๔ พร้อมสรุปข้อสังเกตโดย ศ.ดร.ชียยงค์ พรหมวงศ์

  ต้นฉบับสำหรับพิมพ์เผบแพร่ (PDF)ขนาดA4

หลังจากศึกษาข้อมูลที่นำเสนอในหน้านี้แล้ว ก่อนออกจากเว้ปนี้ โปรดโหวตก่อนออกด้วยจะเป็นพระคุณยิ่ง

โปรดคลิกที่นี่


Webmaster:  chaiyong@iname.com

                                         

Nedstat Basic - Free web site statistics